วันจันทร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2550

คุณค่า และประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน


1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

2)คุณค่าของสื่อการเรียนการสอนการเรียนการสอน
1.สื่อการเรียนการสอนสามารถเอาชนะข้อจำกัดเรื่องความแตกต่างกันของประสบการณ์ดั้งเดิมของผู้เรียน คือเมื่อใช้สื่อการเรียนการสอนแล้วจะช่วยให้เด็กซึ่งมีประสบการณ์เดิมต่างกันเข้าใจได้ใกล้เคียงกัน
2.ขจัดปัญหาเกี่ยวกับเรื่องสถานที่ ประสบการณ์ตรงบางอย่าง หรือการเรียนรู้
3.ทำให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรงจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
4.สื่อการเรียนการสอนทำให้เด็กมีความคิดรวบยอดเป็นอย่างเดียวกัน
5.ทำให้เด็กมีมโนภาพเริ่มแรกอย่างถูกต้องและสมบูรณ์
6.ทำให้เด็กมีความสนใจและต้องการเรียนในเรื่องต่าง ๆ มากขึ้น เช่นการอ่าน ความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ ทัศนคติ การแก้ปัญหา ฯลฯ
7.เป็นการสร้างแรงจูงใจและเร้าความสนใจ
8.ช่วยให้ผู้เรียนได้มีประสบการณ์จากรูปธรรมสู่นามธรรม

สื่อการเรียนการสอนมีประโยชน์สำหรับครูผู้สอนอย่างไร
สื่อการเรียนการสอนสามรถช่วยการเรียนการสอนของครูได้ดีมากซึ่งเราจะเห็นว่าครูนั้นสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียนได้มากทีเดียว แถมยังช่วยให้ครูมีความรู้มากขึ้นในการจัดแหล่งวิทยาการที่เป็นเนื้อหาเหมาะสมแก่การเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในการสอนช่วยครูในด้านการคุมพฤติกรรมการเรียนรู้และสามารถสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มากทีเดียว สื่อการสอนจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนได้ทำกิจกรรมหลายๆรูปแบบ เช่น การใช้ศูนย์การเรียน การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน การสาธิต การแสดงนาฏการ เป็นต้น ช่วยให้ครูผู้สอนได้สอนตรงตามจุดมุ่งหมายการเรียนการสอน และยังช่วยในการขยายเนื้อหาที่เรียนทำให้การสอนง่ายขึ้น และยังจะช่วยประหยัดเวลาในการสอน นักเรียนจะได้มีเวลาในการทำกิจกรรมการเรียนมากขึ้นจากข้อมูลเราจะได้เห็นถึงประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอน ซึ่งทำให้เรามองเห็นถึงความสำคัญของสื่อสารมีประโยชน์และมีความจำเป็นสามารถช่วยพัฒนาการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ประโยชน์ของสื่อการเรียนการสอนที่มีต่อผู้เรียน
ช่วยกระตุ้นและเร้าความสนใจของผู้เรียน
ช่วยให้การเรียนรู้เกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สะดวก และรวดเร็ว
ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคลในบริบทของการเรียนรู้
ช่วยให้เกิดปฎิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
ช่วยให้สมมารถนำเนื้อหาที่มีข้อจำกัดมาสอนในชั้นเรียนได้
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนอย่างกระตือรือร้นและมีส่วนร่วมกับการเรียน
ช่วยให้ผู้เรียน เรียนรู้อย่างเพลิดเพลิน สนุกสนาน และไม่เบื่อหน่วยต่อการเรียน

วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550

ประเภทของสื่อการเรียนการสอน

สื่อการเรียนการสอนจำแนกตามประสบการณ์นักการศึกษาที่จัดแบ่งประเภทสื่อการสอน ตามประสบการณ์ที่ผู้เรียนจะได้รับนั้น มีอยู่ 2 ท่าน คือ เอ็ดการ์ เดล (Elgar Dale) และ เจมส์ เอส. คินเดอร์เอ็ดการ์ เดล (Edgar Dale) แห่งคณะวิชาการศึกษามหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตต ผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาที่มีชื่อเสียง ได้ จำแนกประสบการณ์ทางการศึกษาที่โรงเรียนจัดให้ผู้เรียนไว้ 10 ประเภท และจัดอันดับประสบการณ์ไว้ 10 อันดับ จากประสบการณ์ที่จะสามารถช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้มากไปยังประสบการณ์ที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้น้อยลงเรื่อย ๆ ตามลำดับดังนี้

1. ประสบการณ์ตรงและมีความมุ่งหมาย ประสบการณ์ขั้นนี้ เป็นรากฐานสำคัญของการศึกษาทั้งปวง เป็นประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับมาจากความเป็นจริงและด้วยตัวเองโดยตรง ผู้รับประสบการณ์นี้จะได้เห็น ได้จับ ได้ทำ ได้รู้สึก และได้ดมกลิ่นจากของจริง ดังนั้นสื่อการสอนที่ไห้ประสบการณ์การเรียนรู้ในขั้นนี้ก็คือของจริงหรือความเป็นจริงในชีวิตของคนเรานั่นเอง

2. ประสบการณ์จำลอง เป็นที่ยอมรับกันว่าศาสตร์ต่างๆ ในโลก มีมากเกินกว่าที่จะเรียนรู้ได้หมดสิ้นจากประสบการณ์ตรงในชีวิต บางกรณีก็อยู่ในอดีต หรือซับซ้อนเร้นลับหรือเป็นอันตราย ไม่สะดวกต่อการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จึงได้มีการจำลองสิ่งต่าง ๆ เหล่านั้นมาเพื่อการศึกษา ของจำลองบางอย่างอาจจะเรียนได้ง่ายกว่าและสะดวกกว่า

3. ประสบการณ์นาฎการ ประสบการณ์ต่าง ๆ ของคนเรานั้นมีหลายสิ่งหลายอย่างที่เราไม่สามารถประสบได้ด้วยตนเอง เช่น เหตุการณ์ในอดีต เรื่องราวในวรรณคดี การเรียนในเรื่องที่มีปัญหาเกี่ยวกับสถานที่ หรือเรื่องธรรมชาติที่เป็นนามธรรม การแสดงละครจะช่วยไปให้เราได้เข้าไปใกล้ความเป็นจริงมากที่สุด เช่น ฉาก เครื่องแต่งตัว เครื่องมือ หุ่นต่าง ๆ เป็นต้น

4. การสาธิต การสาธิตคือ การอธิบายถึงข้อเท็จจริงหรือแบ่งความคิด หรือกระบวนการต่าง ๆให้ผู้ฟังแลเห็นไปด้วย เช่น ครูวิทยาศาสตร์เตรียมก๊าซออกซิเจนให้นักเรียนดู ก็เป็นการสาธิต การสาธิตก็เหมือนกับนาฎการ หรือการศึกษานอกสถานที่ เราถือเป็นสื่อการสอนอย่างหนึ่ง ซึ่งในการสาธิตนี้ อาจรวมเอาสิ่งของที่ใช้ประกอบหลายอย่าง นับตั้งแต่ของจริงไปจนถึงตัวหนังสือ หรือคำพูดเข้าไว้ด้วย แต่เราไม่เพ่งเล็งถึงสิ่งเหล่านี้ เราจะให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดที่ผู้เรียนจะต้องเฝ้าสังเกตอยู่โดยตลอด

5. การศึกษานอกสถานที่ การพานักเรียนไปศึกษานอกสถานที่ เป็นการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตเพื่อให้นักเรียนได้เรียนจากแหล่งข้อมูล แหล่งความรู้ที่มีอยู่จริงภายนอกห้องเรียน ดังนั้นการศึกษานอกสถานที่จึงเป็นวิธีการหนึ่งที่เป็นสื่อกลางให้นักเรียนได้เรียนจากของจริง

6. นิทรรศการ นิทรรศการมีความหมายที่กว้างขวาง เพราะหมายถึง การจัดแสดงสิ่งต่างๆ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ชม ดังนั้นนิทรรศการจึงเป็นการรวมสื่อต่าง ๆ มากมายหลายชนิด การจัดนิทรรศการที่ให้ผู้เรียนมามีส่วนร่วมในการจัด จะส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีโอกาสคิดสร้างสรรค์มีส่วนร่วม และได้รับข้อมูลย้อนกลับด้วยตัวของเขาเอง

7. โทรทัศน์และภาพยนตร์ โทรทัศน์เป็นสื่อการสอนที่มีบทบาทมากในปัจจุบัน เพราะได้เห็นทั้งภาพและได้ยินเสียงในเวลาเดียวกัน และยังสามารถแพร่และถ่ายทอดเหตุกาณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ด้วย นอกจากนั้นโทรทัศน์ยังมีหลายรูปแบบ เช่น โทรทัศน์วงจรปิด ซึ่งโรงเรียนสามารถนำมาใช้ในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังมีโทรทัศน์วงจรปิด ที่เอื้อประโยชน์ต่อการศึกษาอย่างกว้างขวาง ภาพยนตร์เป็นสื่อที่จำลองเหตุการณ์มาให้ผู้ชมหรือผู้เรียนได้ดูและได้ฟังอย่างใกล้เคียงกับความจริง แต่ไม่สามารถถ่ายทอดเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นได้ ถึงอย่างไรก็ตามภาพยนตร์ก็ยังนับว่าเป็นสื่อที่มีบทบาทมากในการเรียนการสอน เช่นเดียวกันกับโทรทัศน์

8. ภาพนิ่ง การบันทึกเสียง และวิทยุ ภาพนิ่ง ได้แก่ ภาพถ่าย ภาพวาดซึ่งมีทั้งภาพทึบแสงและโปร่งแสง ภาพทึบแสงคือรูปถ่าย ภาพวาด หรือภาพในสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ส่วนภาพนิ่งโปร่งใสหมายถึงสไลด์ ฟิล์มสตริป ภาพโปร่งใสที่ใช้กับเครื่องฉายวัสดุโปร่งใส เป็นต้น ภาพนิ่งสามารถจำลองความเป็นจริงมาให้เราศึกษาบนจอได้ การบันทึกเสียง ได้แก่ แผ่นเสียงและเครื่องเล่นแผ่นเสียง เทปและเครื่องบันทึกเสียง และเครื่องขยายเสียงตลอดจนอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับเสียง ซึ่งนอกจากจะสามารถนำมาใช้อย่างอิสระในการเรียนการสอนด้วยแล้ว ยังใช้กับรายการวิทยุและกิจกรรมการศึกษาอื่น ๆ ได้ด้วย ส่วนวิทยุนั้น ปัจจุบันที่ยอมรับกันแล้วว่า ช่วยการศึกษาและการเรียนการสอนได้มาก ซึ่งไม่จำกัดอยู่แต่เพียงวิทยุโรงเรียนเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงวิทยุทั่วไปอีกด้วย

9. ทัศนสัญญลักษณ์ สื่อการสอนประเภททัศนสัญญลักษณ์นี้ มีมากมายหลายชนิด เช่น แผนภูมิ แผนภาพ แผนที่ แผนผัง ภาพโฆษณา การ์ตูน เป็นต้น สื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่มีลักษณะเป็นสัญลักษณ์สำหรับถ่ายทอดความหมายให้เข้าใจได้รวดเร็วขึ้น

10.วจนสัญญลักษณ์ สื่อขั้นนี้เป็นสื่อที่จัดว่า เป็นขั้นที่เป็นนามธรรมมากที่สุด ซึ่งได้แก่ ตัวหนังสือหรืออักษร สัญลักษณ์ทางคำพูดที่เป็นเสียงพูด ความเป็นรูปธรรมของสื่อประเภทนี้จะไม่คงเหลืออยู่เลย อย่างไรก็ดี ถึงแม้สื่อประเภทนี้จะมีลักษณะที่เป็นนามธรรมที่สุดก็ตาม เราก็ใช้ประโยชน์จากสื่อประเภทนี้มาก เพราะต้องใช้ในการสื่อความหมายอยู่ตลอดเวลาการพิจารณาในการเลือกใช้ลำดับประสบการณ์ ในการเรียนการสอน ไม่ถือว่าประสบการณ์ขั้นแรกมีความสำคัญ และจำเป็นกว่าขั้นหลัง ๆ เราอาจจะใช้ขั้นใดก็ได้ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ดี ซึ่งบางครั้งอาจจะต้องใช้หลาย ๆ ประสบการณ์ปะปนกันตามความเหมาะสม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ เนื้อหา และสถานการณ์ในการสอน ประสบการณ์ตรงบางครั้งก็ไม่เหมาะที่จะจัดให้นักเรียน เช่น อาจเสี่ยงอันตราย หรือผิดศีลธรรม และต้องไม่ถือว่าประสบการณ์ชั้นต้น ๆ เหมาะสำหรับเด็กโต ประสบการณ์ชั้นบน ๆ เหมาะสำหรับเด็กเล็กเจมส์เอส. คินเดอร์ (James S. Kinder) ได้จัดแบ่งไว้เป็น 3 ลำดับ โดยยึดหลักว่าความเข้าใจในสิ่งที่เป็นรูปธรรมย่อมง่ายกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยแสดงด้วยไดอะแกรมที่เรียกว่า Perspective of Audio visual
ประสบการณ์แทนด้วยคำพูด ใช้สัญญลักษณ์ซึ่งเป็นนามธรรมแทน ของจริง เช่น คำพูด การเขียน สูตรต่าง ๆ................................................................................ประสบการณ์แทนด้วยโสตทัศนวัสดุ เช่น ของตัวอย่าง รูปภาพ หุ่นจำลอง ภาพเลื่อน ภาพยนตร์ ...................................................................................................ประสบการณ์ตรง ประสบการณ์และการกระทำด้วยตนเอง เช่น การสัมภาษณ์ ทัศนศึกษา กิจกรรมบริการและประสบการณ์จากการทำงาน

ความหมายของประเภทสื่อการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
----------------------------------------------------------------------------------------------
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
เดิมใช้คำว่า “อุปกรณ์การสอน” (Teaching Aids) ซึ่งเน้นถึงสิ่งที่นำมาใช้ช่วย ในการสอน แต่เนื่องจากสิ่งที่นำมาใช้ช่วยในการสอนนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทตาและประสาทหูในการรับรู้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์” หรือ “โสตทัศนูปกรณ์” (Audio-Visual Aids) นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องและมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Audio-Visual Education, Educational Media, Instructional Media, Instructional Material, Instructional Technology, Audio-Visual Media, Audio-Visual Communication, Communication Media, Teaching Aids, Technology for Education
เมื่อพิจารณารูปแบบของการเรียนการสอนจึงได้นำคำว่า “สื่อ” (Media) มาใช้แทน คำว่า “อุปกรณ์” ทั้งนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า สื่อ หมายถึง ทำการติดต่อ ให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน หากเน้นที่ผู้สอนจะเรียกว่า สื่อการสอน (Teaching Media) หากเน้นที่ผู้เรียนจะเรียกว่า สื่อการเรียน (Learning Media) โดยยึดถือเอาผู้ใช้สื่อเป็นหลัก แต่เนื่องจากการเรียนและการสอนมักจะเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน จึงน่าจะเรียกตัวกลางที่ใช้ในการเรียนการสอนว่า “สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media )
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 33 ศาลายาเกมส์

วอร์มก่อนทำการแข่งขัน

ขอให้ความรักของหนุ่มสาวเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ เทียบเทียบกับการที่ธรรมชาติรักสิ่งที่มีชีวิต
---------------------------------------------------
*************************** ข้าพเจ้าไม่ได้มีพรสวรรค์พิเศษอะไร ข้าพเจ้าเพียงแต่มีความกระหายใคร่รู้อยู่ เสมอ ทุ่มเทให้กับสิ่งที่อยากรู้ พากเพียรอย่างทรหด และสำรวจวิจารณ์ความรู้ของตัวเองเป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของแนวคิดต่างๆ ของข้าพเจ้า ************************** ต้า_คนกันดาร
********************************///

มารู้จักกับผมในอีกมุมกันครับ

ถ้าจะย้อนเวลากลับไปเมื่อยังเป็นเด็กน้อย ผมใช้ชีวิตอยู่กับกีฬา เซปัคตะกร้อ ซะเป็นส่วนใหญ่ ผมเริ่มเตะตะกร้อ ตอนอายุ 9 ขวบ โดยการชักชวนของ อ.เพิ่มวิทย์ ประทุมพันธ์ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับกีฬาตะกร้อให้ผม ตอนนั้นเรียนผมเรียนอยู่ประมาณ ป 3 ผมจะต้อง ตื่นแต่เช้า ตั้งแต่ตี 5 ถึง 7 โมงเช้า เพื่อมาฝึกหัด เตะตะกร้อ และ ตอนเย็น บ่าย 3 โมง ถึง 6 โมงเย็น เป็นประจำทุกวัน ผมทำอย่างนี้อยู่ได้ประมาณ เกือบ ปี และก็ต้องมีเหตุให้ต้องหยุดเตะตะกร้อ เพราะ อาจารย์ผม ไปช่วยราชการในกระทรวง ตอนนั้นยอมรับว่าเคว้งคว้าง คิดอาจารย์มาก ผมต้องเตะตะกร้อแบบไม่มีครูสอน ทำให้ผมท้อ ผมจึงหยุด หยุดนานเหมือนกัน และเมื่อผม ขึ้นเรียนชั้น ป.5 ผมได้ข่าวว่าอาจารย์เพิ่มวิทย์จะกลับมาสอนแล้ว ทำให้ผมตื่นเต้นมาก ที่จะได้เจออาจารย์อีกครั้ง และฝันก็เป็นจริง อาจารย์เพิ่มวิทย์กลับมาสอนจริง ๆ และที่สำคัญ สอนประจำชั้น ที่ผมเรียนอยู่ด้วย และอาจารย์ก็เริ่มฝึกหัดตะกร้อให้ผมอีกครั้ง ตำแหน่งที่อาจารย์วางให้ผมเล่นคือ Back ตัว เสิร์ฟ นั่นเอง เป็นตำแหน่งที่เหนื่อย กว่าเพื่อน และสำคัญที่สุด ผมยังจำได้ แข่งขันก๊ฬานักเรียน ประจำอำเภอตอนไหนหละก็ ถ้าได้ยินชื่อผมหละก็ คู่แข่งที่เป็นเด็กด้วยกัน แม้กระทั่งโคช ทีมฝั่งตรงข้ามถึงกับต้องคิดหนักเลยทีเดียว ผมสร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับกีฬาตะกร้อไว้มาก สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนก็ไม่น้อย และเมื่อจบชั้นประถมศึกษา ผมตั้งใจสูงมากที่จะสอบเข้าโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานีให้ได้ ผมอยากเรียนมาก ผมจึงชวนรุ่นพี่คนหนึ่งไปสอบด้วยกัน วันแรก ผมดีใจมาก รอบแรกมีรายชื่อผม แต่ก็ต้องเสียใจ รุ่นพี่ที่ไปด้วยกัน ไม่ผ่าน วันที่ 2 ผมไปทดสอบอีก ผมเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ ว่าจะมีรายชื่อผมผ่านเข้าไปทดสอบด่านที่ 3 ไหม และแล้วความหวังก็พังสลาย ไม่มีรายชื่อผมเพื่อสอบข้อเขียน ผมเสียใจอยู่พักหนึ่ง ก็เริ่มตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยไปสมัครเรียนโรงเรียนมัธยมใกล้บ้าน และก็ตามเคยครับ จะต้องสมัครเข้าคัดเป็นนักกีฬาตะกร้อของโรงเรียนให้ได้ ไม่ยากครับ ชื่อเสียงที่สร้างไว้ ทำให้ผมไม่ต้องคัดตัวยาก ผมเป็นตัวแทนแข่งขันตั้งแต่ ม.1-ม.6 โดยตำแหน่งที่ผมเล่น ผมไม่ได้แบ็คนะครับ ผมผันตัวมาเป็นตัวเตะ ตัวฝาดที่มีประสิทธิภาพเลยทีเดียว เดี่ยวผมจะบอกว่ารางวัลที่ผมได้รับมีอะไรบ้าง ----------------------------------------- ปี 2542 : ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เหร๊ยญเงินกีฬาดอกบัวเกมส์ ครั้งที่ 1 ที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อประเภททีมชุดชาย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตำแหน่งที่เล่น หน้าขวาตัวทำ ***************************** ปี 2543 : ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของสหวิทยาเขตอุบลใต้ ในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อประเภททีมเดี่ยวชาย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตำแหน่งที่เล่น หน้าขวาตัวทำ ***************************** ปี 2543 : เข้าแข่งขันกีฬานักเรียนเพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นตัวแทนเขตเข้าไปแข่งขันในเขตภูมิภาค น่าเสียดาย เราได้แค่ เหรียญทองแดงมา เลยอดไปเล่มทีมเขตเลย ตอนนั้นผมเสียใจมาก หยุดเล่นตะกร้อไปนานเหมือนกัน ***************************** ต่อมาปี 2545 : ผมเป็นตัวแทนไปแข่งขันกีฬาสหวิทยาอุบลใต้ แต่ตอนนี้เป็นรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี คู่แข่งก็พัฒนาฝีเท้าเร็วมาก ทำให้ผมคิดหนักเหมือนกัน แต่เราก็คว้าแชมป์ ชนะเลิศอันดับ 1 ได้ ถึงตอนนี้ผมก็ยังเล่น หน้าขวากระโดดฟาดเหมือนเดิมครับ หลังจากนี้ผมก็ไปตระเวนเตะเดิมพัน แถว อำเภอใกล้เคียง ได้บ้าง เสียบ้าง ***************************** และก็ได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ก็ลองไปคัดตัวก็ติดเป็นตัวจริงกับเขา ตำแหน่งที่เล่นก็ ตัวฟาดเหมือนกันเดิม เล่นทั้งทีมชุดทีมเดียว ***************************** แต่ตอนนี้ กล้ามเนื้อหัวเข่าผมฉีกผมเล่นตะกร้อไม่ได้แล้ว....... อยู่ในหว่างการรักษาครับ เสียใจมาก ๆ สรุปรวมเล่นตะกร้อมาทั้งหมด เกือบ 10 ปีหละครับ เคยเดาะตะกร้อทำสถิติไว้ ที่ 2900 ครั้ง โดยไม่ตกซักที ครับ *****************************