วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2550

ความหมายของประเภทสื่อการเรียนการสอน

ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
----------------------------------------------------------------------------------------------
ในการเรียนการสอนเป็นกระบวนการสื่อความหมายระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยมีเจตนาที่จะถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องอาศัยตัวกลางหรือพาหะ ซึ่งเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมโยงที่สำคัญ อาจเรียกชื่อแตกต่างกัน เช่น อุปกรณ์การสอน โสตทัศนอุปกรณ์ โสตทัศนูปกรณ์ สื่อการสอน สื่อการเรียน ซึ่งแต่ละคำหมายถึงตัวกลางทั้งสิ้น
เดิมใช้คำว่า “อุปกรณ์การสอน” (Teaching Aids) ซึ่งเน้นถึงสิ่งที่นำมาใช้ช่วย ในการสอน แต่เนื่องจากสิ่งที่นำมาใช้ช่วยในการสอนนั้นส่วนใหญ่ต้องใช้ประสาทตาและประสาทหูในการรับรู้ จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า “โสตทัศนอุปกรณ์” หรือ “โสตทัศนูปกรณ์” (Audio-Visual Aids) นอกจากนี้ยังมีคำที่เกี่ยวข้องและมีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น Audio-Visual Education, Educational Media, Instructional Media, Instructional Material, Instructional Technology, Audio-Visual Media, Audio-Visual Communication, Communication Media, Teaching Aids, Technology for Education
เมื่อพิจารณารูปแบบของการเรียนการสอนจึงได้นำคำว่า “สื่อ” (Media) มาใช้แทน คำว่า “อุปกรณ์” ทั้งนี้ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำว่า สื่อ หมายถึง ทำการติดต่อ ให้ถึงกันหรือชักนำให้รู้จักกัน
เมื่อมีการนำสื่อมาใช้ในการเรียนการสอน หากเน้นที่ผู้สอนจะเรียกว่า สื่อการสอน (Teaching Media) หากเน้นที่ผู้เรียนจะเรียกว่า สื่อการเรียน (Learning Media) โดยยึดถือเอาผู้ใช้สื่อเป็นหลัก แต่เนื่องจากการเรียนและการสอนมักจะเกิดขึ้นเกี่ยวเนื่องกัน จึงน่าจะเรียกตัวกลางที่ใช้ในการเรียนการสอนว่า “สื่อการเรียนการสอน” (Instruction Media )
ดังนั้นจึงอาจสรุปได้ว่า สื่อการเรียนการสอน หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ผู้สอนและผู้เรียนนำมาใช้ในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้กระบวนการเรียนรู้ดำเนินไปสู่เป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
คุณค่าของสื่อการเรียนการสอน
------------------------------------------------------------------------------------------------
1. ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่
1.1 เรียนรู้ได้ดีขึ้นจากประสบการณ์ที่มีความหมายในรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เรียนรู้ได้อย่างถูกต้อง
1.3 เรียนรู้ได้ง่ายและเข้าใจได้ชัดเจน
1.4 เรียนรู้ได้มากขึ้น
1.5 เรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด
2. ช่วยให้สามารถเอาชนะข้อจำกัดต่าง ๆ ในการเรียนรู้ ได้แก่
2.1 ทำสิ่งนามธรรมให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
2.2 ทำสิ่งซับซ้อนให้ง่ายขึ้น
2.3 ทำสิ่งเคลื่อนไหวช้าให้เร็วขึ้น
2.4 ทำสิ่งเคลื่อนไหวเร็วให้ช้าลง
2.5 ทำสิ่งเล็กให้ใหญ่ขึ้น
2.6 ทำสิ่งใหญ่ให้เล็กลง
2.7 นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาได้
2.8 นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาได้ช่วยกระตุ้นความสนใจของผู้
2.9 ช่วยให้จดจำได้นาน เกิดความประทับใจและมั่นใจในการเรียน
2.10 ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดและแก้ปัญหา
2.11 ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล

ไม่มีความคิดเห็น:

กีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 33 ศาลายาเกมส์

วอร์มก่อนทำการแข่งขัน

ขอให้ความรักของหนุ่มสาวเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่ เทียบเทียบกับการที่ธรรมชาติรักสิ่งที่มีชีวิต
---------------------------------------------------
*************************** ข้าพเจ้าไม่ได้มีพรสวรรค์พิเศษอะไร ข้าพเจ้าเพียงแต่มีความกระหายใคร่รู้อยู่ เสมอ ทุ่มเทให้กับสิ่งที่อยากรู้ พากเพียรอย่างทรหด และสำรวจวิจารณ์ความรู้ของตัวเองเป็นประจำ ปัจจัยเหล่านี้คือที่มาของแนวคิดต่างๆ ของข้าพเจ้า ************************** ต้า_คนกันดาร
********************************///

มารู้จักกับผมในอีกมุมกันครับ

ถ้าจะย้อนเวลากลับไปเมื่อยังเป็นเด็กน้อย ผมใช้ชีวิตอยู่กับกีฬา เซปัคตะกร้อ ซะเป็นส่วนใหญ่ ผมเริ่มเตะตะกร้อ ตอนอายุ 9 ขวบ โดยการชักชวนของ อ.เพิ่มวิทย์ ประทุมพันธ์ ผู้ถ่ายทอดประสบการณ์เกี่ยวกับกีฬาตะกร้อให้ผม ตอนนั้นเรียนผมเรียนอยู่ประมาณ ป 3 ผมจะต้อง ตื่นแต่เช้า ตั้งแต่ตี 5 ถึง 7 โมงเช้า เพื่อมาฝึกหัด เตะตะกร้อ และ ตอนเย็น บ่าย 3 โมง ถึง 6 โมงเย็น เป็นประจำทุกวัน ผมทำอย่างนี้อยู่ได้ประมาณ เกือบ ปี และก็ต้องมีเหตุให้ต้องหยุดเตะตะกร้อ เพราะ อาจารย์ผม ไปช่วยราชการในกระทรวง ตอนนั้นยอมรับว่าเคว้งคว้าง คิดอาจารย์มาก ผมต้องเตะตะกร้อแบบไม่มีครูสอน ทำให้ผมท้อ ผมจึงหยุด หยุดนานเหมือนกัน และเมื่อผม ขึ้นเรียนชั้น ป.5 ผมได้ข่าวว่าอาจารย์เพิ่มวิทย์จะกลับมาสอนแล้ว ทำให้ผมตื่นเต้นมาก ที่จะได้เจออาจารย์อีกครั้ง และฝันก็เป็นจริง อาจารย์เพิ่มวิทย์กลับมาสอนจริง ๆ และที่สำคัญ สอนประจำชั้น ที่ผมเรียนอยู่ด้วย และอาจารย์ก็เริ่มฝึกหัดตะกร้อให้ผมอีกครั้ง ตำแหน่งที่อาจารย์วางให้ผมเล่นคือ Back ตัว เสิร์ฟ นั่นเอง เป็นตำแหน่งที่เหนื่อย กว่าเพื่อน และสำคัญที่สุด ผมยังจำได้ แข่งขันก๊ฬานักเรียน ประจำอำเภอตอนไหนหละก็ ถ้าได้ยินชื่อผมหละก็ คู่แข่งที่เป็นเด็กด้วยกัน แม้กระทั่งโคช ทีมฝั่งตรงข้ามถึงกับต้องคิดหนักเลยทีเดียว ผมสร้างชื่อเสียงเกี่ยวกับกีฬาตะกร้อไว้มาก สร้างชื่อเสียงให้กับโรงเรียนก็ไม่น้อย และเมื่อจบชั้นประถมศึกษา ผมตั้งใจสูงมากที่จะสอบเข้าโรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานีให้ได้ ผมอยากเรียนมาก ผมจึงชวนรุ่นพี่คนหนึ่งไปสอบด้วยกัน วันแรก ผมดีใจมาก รอบแรกมีรายชื่อผม แต่ก็ต้องเสียใจ รุ่นพี่ที่ไปด้วยกัน ไม่ผ่าน วันที่ 2 ผมไปทดสอบอีก ผมเฝ้ารออย่างใจจดใจจ่อ ว่าจะมีรายชื่อผมผ่านเข้าไปทดสอบด่านที่ 3 ไหม และแล้วความหวังก็พังสลาย ไม่มีรายชื่อผมเพื่อสอบข้อเขียน ผมเสียใจอยู่พักหนึ่ง ก็เริ่มตั้งต้นชีวิตใหม่ โดยไปสมัครเรียนโรงเรียนมัธยมใกล้บ้าน และก็ตามเคยครับ จะต้องสมัครเข้าคัดเป็นนักกีฬาตะกร้อของโรงเรียนให้ได้ ไม่ยากครับ ชื่อเสียงที่สร้างไว้ ทำให้ผมไม่ต้องคัดตัวยาก ผมเป็นตัวแทนแข่งขันตั้งแต่ ม.1-ม.6 โดยตำแหน่งที่ผมเล่น ผมไม่ได้แบ็คนะครับ ผมผันตัวมาเป็นตัวเตะ ตัวฝาดที่มีประสิทธิภาพเลยทีเดียว เดี่ยวผมจะบอกว่ารางวัลที่ผมได้รับมีอะไรบ้าง ----------------------------------------- ปี 2542 : ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 เหร๊ยญเงินกีฬาดอกบัวเกมส์ ครั้งที่ 1 ที่โรงเรียนกีฬาจังหวัดอุบลราชธานี ในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อประเภททีมชุดชาย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตำแหน่งที่เล่น หน้าขวาตัวทำ ***************************** ปี 2543 : ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ของสหวิทยาเขตอุบลใต้ ในการแข่งขันกีฬาเซปักตะกร้อประเภททีมเดี่ยวชาย รุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตำแหน่งที่เล่น หน้าขวาตัวทำ ***************************** ปี 2543 : เข้าแข่งขันกีฬานักเรียนเพื่อเป็นตัวแทนของจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อเป็นตัวแทนเขตเข้าไปแข่งขันในเขตภูมิภาค น่าเสียดาย เราได้แค่ เหรียญทองแดงมา เลยอดไปเล่มทีมเขตเลย ตอนนั้นผมเสียใจมาก หยุดเล่นตะกร้อไปนานเหมือนกัน ***************************** ต่อมาปี 2545 : ผมเป็นตัวแทนไปแข่งขันกีฬาสหวิทยาอุบลใต้ แต่ตอนนี้เป็นรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี คู่แข่งก็พัฒนาฝีเท้าเร็วมาก ทำให้ผมคิดหนักเหมือนกัน แต่เราก็คว้าแชมป์ ชนะเลิศอันดับ 1 ได้ ถึงตอนนี้ผมก็ยังเล่น หน้าขวากระโดดฟาดเหมือนเดิมครับ หลังจากนี้ผมก็ไปตระเวนเตะเดิมพัน แถว อำเภอใกล้เคียง ได้บ้าง เสียบ้าง ***************************** และก็ได้มาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง ก็ลองไปคัดตัวก็ติดเป็นตัวจริงกับเขา ตำแหน่งที่เล่นก็ ตัวฟาดเหมือนกันเดิม เล่นทั้งทีมชุดทีมเดียว ***************************** แต่ตอนนี้ กล้ามเนื้อหัวเข่าผมฉีกผมเล่นตะกร้อไม่ได้แล้ว....... อยู่ในหว่างการรักษาครับ เสียใจมาก ๆ สรุปรวมเล่นตะกร้อมาทั้งหมด เกือบ 10 ปีหละครับ เคยเดาะตะกร้อทำสถิติไว้ ที่ 2900 ครั้ง โดยไม่ตกซักที ครับ *****************************